• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page

Duangchai Maneechot
28 Mar 2024

เปิดราคา!วงโคจรดาวเทียม 2 สล็อตที่เหลือ กสทช.ดัมพ์ราคาหวังจูงใจเอกชน


นายสมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ที่ประชุมกสทช.ได้ลงมติเห็นชอบให้นำ (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 และ 51 และ 142 องศาตะวันออก ในลักษณะจัดชุด (แพคเก็จ) ไปรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มในประเด็นการจ่ายค่าปรับกรณีผู้ชนะประมูลได้วงโคจรแล้วไม่สามารถนำไปประกอบธุรกิจได้ 


โดย 2 วงโคจรที่ไม่มีเอกชนเข้าร่วมประมูลจากที่กสทช.เคยเปิดประมูลไปเมื่อ 15 ม.ค. 2566 ประกอบด้วยชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 1 50.5E (ข่ายงาน C1 และ N1) และวงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาเริ่มต้นการประมูล 374 ล้านบาท และชุดที่ 5 วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ 142E) ราคาเริ่มต้นการประมูล 189 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการปรับลดราคาดังกล่าวจาก 374 ล้านบาท เหลือ 41 ล้านบาท และ 189 ล้านบาท เหลือ 23 ล้านบาท



“โดยมีการตัดค่าโอกาสทางการทำธุรกิจออกไป เนื่องจากวงโคจรตำแหน่งดังกล่าว อยู่ต่างประเทศ ผู้ที่ประมูลได้ต้องทำธุรกิจแข่งกับต่างประเทศ ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจดาวเทียมอยู่ในขาลง”


ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1, N1 และ P1R) และวงโคจร 51E (ข่ายงาน 51)  ทำตลาดในประเทศแถบอาหรับ และตะวันออกกลาง เป็นวงโคจรสำหรับบรอดแคสต์


และชุดที่ 5 วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ N5) โคจรอยู่แถบแปซิฟิก ดังนั้น บริการที่สามารถให้บริการได้จะเป็นบริการดาวเทียมสำหรับเดินเรือเหมาะกับทำบรอดแคสต์


นายสมภพ กล่าวว่า แม้ว่าหลักเกณฑ์การประมูลได้มีการปรับลดราคาเริ่มต้นการประมูลดาวเทียม แต่ก็ได้เพิ่มเงื่อนไขผลตอบแทนให้กับรัฐ เป็น X% ของรายได้ต่อปี ด้วย โดยมีขั้นต่ำเริ่มที่ 2.5% หากมีการเคาะราคาต่อครั้งก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.25% ด้วย 


นอกจากได้ ยังได้ปรับเงื่อนไขการมีดาวเทียมเป็นของตนเอง จากเดิม 3 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้มีระยะเวลาในการดำเนินการที่ผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ให้บริการ ของดาวเทียมในครั้งนี้อยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเงื่อนไขในการนำคลื่นความถี่ขึ้นใช้งานกับดาวเทียมเพื่อรักษาสิทธิวงโคจรยังคงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู เช่นเดิม


อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถจัดประมูลได้ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยสำนักงานกสทช.จะใช้เวลาในการรับฟังประชาพิจารณ์ประมาณ 7 วัน จากนั้นจะนำเสนอเข้าบอร์ดกสทช.เพื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป  คาดว่าจะเงื่อนไขใหม่จะสามารถจูงใจผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาสิทธิวงโคจรไว้ได้


สนับสนุนเนื้อหา : By ปานฉัตร สินสุข


และแหล่งที่มา : bangkokbiznews.com

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้