• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page
แนวทางการสนับสนุนให้ย่านเจริญกรุงเป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
TU Library

ร่างโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) จะประกาศใช้ปลายปี 2563 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและดำรงรักษากรุงเทพฯ ในอนาคต 20 ปี มีการเพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พ. 6 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในขณะที่ย่านเจริญกรุง มีนโยบายการพัฒนาย่านสร้างสรรค์นำโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยไปสู่ระดับโลก หนึ่งในแนวทางที่สำคัญ คือ “การสนับสนุนให้พื้นที่เจริญกรุงเป็นศูนย์กลางของการ คิด - ผลิต - ขาย สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” แต่ทว่าในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ย่านเจริญกรุงกลับถูกใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พ. 8 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของเมือง (CBD – Central Business District) ไม่ได้ระบุถึงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในที่ดินประเภท พ. 6 แต่อย่างใด ดังนั้นวัตถุประสงค์งานวิจัยจึงต้องการทบทวนรายละเอียดข้อกำหนดผังเมืองรวมกรุงเทพฯ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ในการใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมระหว่าง พ. 6 (Creative District) กับ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พ. 8 (CBD) การศึกษาความแตกต่างร่างข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่าง พ. 6 กับ พ. 8 จึงทบทวนการเปรียบเทียบข้อกำหนดและการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปสอบถามความคิดเห็นจากตัวแทนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ด้านอัญมณีและเครื่องประดับในย่านเจริญกรุง จำนวน 3 ท่านตามกระบวนห่วงโซ่คุณค่า (คิด – ผลิต – ขาย) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง จำนวน 1 ท่าน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์และสรุปผลการศึกษาโดยการพรรณนาบรรยาย (Analytical Description) ผลการศึกษา พบว่า ข้อกำหนดที่ดินประเภท พ. 8 ที่บังคับใช้ย่านเจริญกรุงเอื้อให้เกิดกิจกรรมการคิด – ผลิต – ขาย มากกว่าที่ดินประเภท พ. 6 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นจากผู้ประกอบการสร้างสรรค์ว่าย่านเจริญกรุงสามารถทำกิจกรรมบนที่ดินประเภท พ. 8 ได้ทุกประเภท แม้แต่การผลิตอย่างโรงงานหล่ออัญมณีในตึกแถว โดยผู้เชี่ยวชาญทางผังเมืองได้ตอกย้ำว่า รายละเอียดข้อกำหนดผังเมืองไทยมีเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นอย่างมาก อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำกิจกรรมได้อย่างหลากหลายอันจะเป็นผลบวกต่อตัวผู้ประกอบการสร้างสรรค์ในย่านเจริญกรุงยิ่งกว่าผู้ประกอบการในที่ดิน พ. 6 เสียด้วยซ้ำ เนื่องจากที่ดินประเภท พ. 8 สามารถก่อสร้างอาคารตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนใหญ่ได้มากกว่า และสามารถทำกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายได้สะดวกกว่า

หมวดหมู่ : Thammasat University Theses
จำนวนหน้า : 218
ความนิยม :
แชร์ข้อมูลไปยัง :

MARC Information

245 a : Title 
แนวทางการสนับสนุนให้ย่านเจริญกรุงเป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 
000 a : Book tag 
300 a : Total pages 
218 
050 b : Publish Year 
2562 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้

นโยบายคุกกี้ ยอมรับ