• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page
การประเมินผลกระทบของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อลดการไหลนองของน้ำฝนในโครงการอาคารพักอาศัยรวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
TU Library

ปัจจุบันย่านศูนย์กลางเมืองเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครมีการพัฒนาและมีความหนาแน่นของโครงการพักอาศัยรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่ดาดแข็ง เป็นสาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมเมืองและเป็นปัญหามลพิษทางน้ำในชุมชนเมือง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลักษณะสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์เมือง เมื่อพื้นผิวที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ (พื้นผิวที่เกิดจากยางมะตอยและคอนกรีต) สร้างขึ้นระหว่างการพัฒนาที่ดิน เมื่อถึงช่วงฤดูฝน เกิดน้ำไหลนองจากน้ำฝนบนพื้นผิวเหล่านี้และนำสารปนเปื้อนไปยังท่อระบายน้ำแทนที่จะซึมผ่านลงดิน ระบบการลดน้ำไหลนองทางภูมิทัศน์และพื้นที่ชีวภาพเพื่อให้น้ำซึมผ่านได้ หรือ BAF รวมถึง ระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณ, พื้นผิวพรุนน้ำ, และพื้นที่สีเขียวแบบเปิดโล่ง ปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หญ้า อาจนำมาใช้ในการลดผลกระทบจากน้ำไหลนองของเมืองในพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นได้
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์และการบริหารจัดการเพื่อการบรรเทาน้ำไหลนองในปัจจุบัน และผลกระทบของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อนำมาหารูปแบบและความสัมพันธ์ต่อการลดลงของปริมาณน้ำไหลนองและแนวทางการออกแบบพื้นที่น้ำซึมผ่านได้ของโครงการพักอาศัยรวม ศึกษาด้วยวิธีการสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทางกายภาพ ที่เป็นตัวแปรในการลดน้ำไหลนอง ได้แก่ ประเภทของการใช้ที่ดิน, ข้อกำหนดควบคุมความหนาแน่น, ตำแหน่งพื้นที่โครงการ, ขนาดพื้นที่ดาดแข็ง, ขนาดพื้นที่ดาดอ่อนเพื่อปลูกต้นไม้, พื้นผิวแบบรูพรุน, ลักษณะดิน และปริมาณน้ำฝน นำข้อมูลที่ได้มาจำลองสถานการณ์ร่วมกับข้อกำหนดควบคุมความหนาแน่นและกลยุทธ์ทางมาตรการเชิงภูมิสภาปัตย กรรม ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Autodesk InfraWorks 360 ในชุดเครื่องมือ Green Stormwater Infrastructure (GSI) ด้วยวิธี TR-55 เพื่อหาปริมาณน้ำไหลนอง (runoff) และนำมาหาค่าการลดลงด้วยสมการ Quadratic regression
ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่แบบมีระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณสามารถลดอัตราน้ำไหลนองได้สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพโดยเพิ่มในพื้นที่ BAF ร้อยละ 50 ของอัตราส่วนพื้นที่ว่าง เมื่อรวมพื้นที่ด้วย 3 กลยุทธ์ในการลดน้ำไหลนองเชิงภูมิสถาปัตยกรรม สามารถลดผลกระทบจากน้ำไหลนองของเมืองในพื้นที่ของการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ จากนั้นการลดน้ำไหลนองโดยการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่แนะนำ คือ (a) พื้นที่แบบมีระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณควรมีสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 20 ของอัตราส่วนพื้นที่ว่างในพื้นที่โครงการ, (b) พื้นที่ผิวพรุนน้ำควรมีมากถึง ร้อยละ 20 ของอัตราส่วนพื้นที่ว่าง, และ (c) พื้นที่สีเขียวแบบเปิดโล่ง ปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หญ้า ควรมีมากถึง ร้อยละ 60 ของอัตราส่วนพื้นที่ว่าง กลยุทธ์ในการลดน้ำไหลนองเชิงภูมิสถาปัตยกรรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้สามารถนำมาใช้เพื่อการลดน้ำไหลนองที่เกิดจากน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็สามารถลดมลพิษทางน้ำด้วย การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักผังเมืองและภูมิสถาปนิกทางด้านการวางแผนและออกแบบพื้นที่ BAF ตามข้อกำหนดผังเมือง รวมไปถึงลดน้ำไหลนองได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

หมวดหมู่ : Thammasat University Theses
จำนวนหน้า : 13, 109 แผ่น
ความนิยม :
แชร์ข้อมูลไปยัง :

MARC Information

245 a : Title 
การประเมินผลกระทบของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อลดการไหลนองของน้ำฝนในโครงการอาคารพักอาศัยรวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
300 a : Total pages 
13, 109 แผ่น 
050 b : Publish Year 
2019 
260 b : Name of publisher 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
000 a : Book tag 
TU Library 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้

นโยบายคุกกี้ ยอมรับ