• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page
การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยทะเลสาบสงขลา
TU Library

ปัจจุบันอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมซึ่งอุทกภัยเกิดได้เกือบทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่ราบ และบริเวณที่ไม่มีทางระบายน้ำออกมากพอสำหรับพื้นที่นั้น ในอดีตการเกิดอุทกภัยมีสาเหตุจากธรรมชาติแต่ในปัจจุบันอุทกภัยส่วนใหญ่มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างกีดขวางลำน้ำ การเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำด้วยสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ การใช้ทรัพยากรน้ำ และป่าไม้เกินขีดความสามารถในการจัดการของธรรมชาติ ทำให้วัฏจักรของน้ำสูญเสียสมดุลและมีแนวโน้มที่จะเกิดอุทกภัยขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนป้องกันอย่างเหมาะสมโดยแนวคิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ที่สามารถบรรเทาภาวะภัยได้
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงินและสีเขียว (Blue-Green Infrastructure) (2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว (3) เสนอแนะมาตรการการพัฒนาพื้นที่เหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว โดยมีพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำย่อยทะเลสาบสงขลาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยการศึกษาวิเคราะห์หาเกณฑ์ในการหาพื้นที่เหมาะสมจะศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมและใช้วิธีกระบวนการตัดสินใจเชิงลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) ในการคำนวณค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย จากนั้นจึงนำพื้นที่เหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว มาศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่โดยนำมาผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว จะอยู่ทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษา ซึ่งเป็นบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้ และอยู่ใกล้กับบริเวณแหล่งน้ำ โดยพื้นที่เหมาะแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน มีพื้นที่ร้อยละ 11.37 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่เหมาะแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวมีพื้นที่ร้อยละ 23.78 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนามี ดังนี้ (1) พื้นที่ทางน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณ คลองระบายน้ำ ร.1 และคลองระบายน้ำ ร.3 (2) พื้นที่ช่องทางน้ำหลาก พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณ คลองอู่ตะเภา (3) พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณ ป่าชายเลน ตำบลหัวเขา (4) พื้นที่หลัก พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมในอำเภอสะเดา (5) พื้นที่ตั้ง พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณสวนสาะรณะเทศบาลนครหาดใหญ่ และสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลา (6) พื้นที่เชื่อมต่อ พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาคือบริเวณ ทางหลวงชนบทหมายเลข 4145 ถนนเพชรเกษม ถนนกาญจนวาณิช และทางหลวงชนบทหมายเลข 408 และได้เสนอโครงการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากอุทกภัย โดยการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว เพื่อบรรเทาอุทกภัยภายในพื้นที่ในอนาคตได้

หมวดหมู่ : Thammasat University Theses
จำนวนหน้า : 15, 150 แผ่น
ความนิยม :
แชร์ข้อมูลไปยัง :

MARC Information

245 a : Title 
การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมโครงสร้างพื้นฐานสีน้ำเงิน-สีเขียว: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยทะเลสาบสงขลา 
300 a : Total pages 
15, 150 แผ่น 
050 b : Publish Year 
2019 
260 b : Name of publisher 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
000 a : Book tag 
TU Library 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้

นโยบายคุกกี้ ยอมรับ