นักวิทยาศาสตร์จีนจากมหาวิทยาลัยเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ปลาที่สามารถกำจัดไมโครพลาสติกออกจากสภาพแวดล้อมทางน้ำได้

นักวิจัยที่ทำงานในโครงการนี้กล่าวว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถช่วยขจัดพลาสติกที่เป็นมลพิษอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก โดยหุ่นยนต์ปลาที่ทำมาจากสารประกอบเคมีชนิดอ่อนนี้มีความยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร และได้รับการออกแบบให้สามารถดูดซับไมโครพลาสติกในขณะเคลื่อนที่ผ่านน้ำได้

นักวิจัยกล่าวว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้สามารถทำงานได้ดีในน้ำตื้น และพวกเขาได้วางแผนที่จะทำการทดสอบเพิ่มเติมในน้ำลึกอีกด้วย

ทั้งนี้ หุ่นยนต์ปลาถูกสร้างขึ้นเพื่อมุ่งกำจัดไมโครพลาสติกซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร การศึกษายืนยันว่ามีการค้นพบไมโครพลาสติกที่เป็นมลพิษในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากการสลายตัวของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตขึ้นมาตลอดจนสิ่งปฏิกูลทางด้านอุตสาหกรรม

องค์กร American Chemical Society กล่าวว่า หุ่นยนต์นี้สามารถควบคุมได้ด้วยแสง จากการเปิดและปิด "แสงเลเซอร์อินฟราเรดระยะใกล้" จะทำให้หางของปลาขยับไปมา นอกจากนี้มันยังสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 2.76 อัตราส่วนความยาวของลำตัวต่อวินาที ซึ่งนักวิจัยบอกว่าหุ่นยนต์ปลาว่ายน้ำได้เร็วกว่าหุ่นยนต์ชนิดนิ่มส่วนใหญ่ที่มีความคล้ายคลึงกัน

วัง ยวี่เหยียน (Wang Yuyan) สมาชิกของทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเสฉวน บอกกับรอยเตอร์ว่า ปัจจุบันมีการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบาในการเก็บรวบรวมไมโครพลาสติกเพื่อการศึกษาวิจัย และได้มีการวางแผนที่จะขยายการใช้งานดังกล่าวเพื่อให้หุ่นยนต์ปลาสามารถกำจัดขยะไมโครพลาสติกออกจากบริเวณมหาสมุทรลึกได้จำนวนมากขึ้น

นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า หุ่นยนต์ปลาสามารถกำจัดไมโครพลาสติกได้หลายประเภท อีกทั้งยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หากได้รับความเสียหาย และหากหุ่นยนต์ปลาถูกปลาจริงกินเข้าไปโดยบังเอิญ มันก็สามารถย่อยได้อย่างปลอดภัย

หวัง กล่าวต่อไปอีกว่า นักวิจัยอาจสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ที่คล้ายกันนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในร่างกายของมนุษย์เพื่อกำจัดวัสดุหรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการได้

นักวิทยาศาสตร์รายงานการค้นพบของพวกเขาเอาไว้ในการศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารNano Lettersของ American Chemical Society ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

www.voathai.com,รอยเตอร์ และSanook.com

'/> NBTC LIBRARY
  • NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page

Duangchai Maneechot
04 Aug 2022

นักวิทย์จีนพัฒนา 'หุ่นยนต์ปลา' กินไมโครพลาสติก

นักวิทย์จีนพัฒนา


นักวิทยาศาสตร์จีนจากมหาวิทยาลัยเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ปลาที่สามารถกำจัดไมโครพลาสติกออกจากสภาพแวดล้อมทางน้ำได้


นักวิจัยที่ทำงานในโครงการนี้กล่าวว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถช่วยขจัดพลาสติกที่เป็นมลพิษอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก โดยหุ่นยนต์ปลาที่ทำมาจากสารประกอบเคมีชนิดอ่อนนี้มีความยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร และได้รับการออกแบบให้สามารถดูดซับไมโครพลาสติกในขณะเคลื่อนที่ผ่านน้ำได้


นักวิจัยกล่าวว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้สามารถทำงานได้ดีในน้ำตื้น และพวกเขาได้วางแผนที่จะทำการทดสอบเพิ่มเติมในน้ำลึกอีกด้วย


ทั้งนี้ หุ่นยนต์ปลาถูกสร้างขึ้นเพื่อมุ่งกำจัดไมโครพลาสติกซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร การศึกษายืนยันว่ามีการค้นพบไมโครพลาสติกที่เป็นมลพิษในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากการสลายตัวของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตขึ้นมาตลอดจนสิ่งปฏิกูลทางด้านอุตสาหกรรม


องค์กร American Chemical Society กล่าวว่า หุ่นยนต์นี้สามารถควบคุมได้ด้วยแสง จากการเปิดและปิด "แสงเลเซอร์อินฟราเรดระยะใกล้" จะทำให้หางของปลาขยับไปมา นอกจากนี้มันยังสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 2.76 อัตราส่วนความยาวของลำตัวต่อวินาที ซึ่งนักวิจัยบอกว่าหุ่นยนต์ปลาว่ายน้ำได้เร็วกว่าหุ่นยนต์ชนิดนิ่มส่วนใหญ่ที่มีความคล้ายคลึงกัน



วัง ยวี่เหยียน (Wang Yuyan) สมาชิกของทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเสฉวน บอกกับรอยเตอร์ว่า ปัจจุบันมีการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบาในการเก็บรวบรวมไมโครพลาสติกเพื่อการศึกษาวิจัย และได้มีการวางแผนที่จะขยายการใช้งานดังกล่าวเพื่อให้หุ่นยนต์ปลาสามารถกำจัดขยะไมโครพลาสติกออกจากบริเวณมหาสมุทรลึกได้จำนวนมากขึ้น


นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า หุ่นยนต์ปลาสามารถกำจัดไมโครพลาสติกได้หลายประเภท อีกทั้งยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หากได้รับความเสียหาย และหากหุ่นยนต์ปลาถูกปลาจริงกินเข้าไปโดยบังเอิญ มันก็สามารถย่อยได้อย่างปลอดภัย


หวัง กล่าวต่อไปอีกว่า นักวิจัยอาจสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ที่คล้ายกันนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในร่างกายของมนุษย์เพื่อกำจัดวัสดุหรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการได้



นักวิทยาศาสตร์รายงานการค้นพบของพวกเขาเอาไว้ในการศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nano Letters ของ American Chemical Society ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ


 


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล


http://www.voathai.comรอยเตอร์ และ  Sanook.com

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้