• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page

Acting Sub Lieutenant Kamchai Jainan
24 Nov 2021

นวัตกรรมจากนาโนเทค ฟื้นผิวด้วย "ลูมิดาร์ท" แผ่นนำแสงสามมิติ

นวัตกรรมจากนาโนเทค ฟื้นผิวด้วย "ลูมิดาร์ท" แผ่นนำแสงสามมิติ


นวัตกรรมจากนาโนเทค ฟื้นผิวด้วย "ลูมิดาร์ท" แผ่นนำแสงสามมิติ


นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ผสานเทคโนโลยีเข็มขนาดไมโคร กับการบำบัดผิวด้วยการฉายแสง พัฒนา “ลูมิดาร์ท (LumiDart)” แผ่นเข็มนำแสงสามมิติที่มีขนาดเล็กมากในระดับไมโครเมตร ตัวช่วยนำพาแสงไปยังชั้นใต้ผิวหนังโดยตรง แก้ปัญหาผิว อาทิ สิว จุดด่างดำ ผิวหน้าหย่อนคล้อย


ปัญหาผิวและความสวยความงาม ยังคงเป็นความต้องการอันดับต้นๆ การเผชิญหน้ากับวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้สถานเสริมความงามต่างๆ ต้องปิดให้บริการชั่วคราว ทำให้ผู้บริโภคต้องการการดูแลผิวพรรณในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับผิวพรรณและความสวยงาม โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมความงามที่เน้นเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้เองเกิดการขยายตัวและมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 900 ล้านบาทในประเทศไทย


ไพศาล ขันชัยทิศ หัวหน้าทีมวิจัยเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงประยุกต์ความเชี่ยวชาญด้านเข็มระดับไมโครเมตรและนาโนเมตรสู่ “ลูมิดาร์ท (LumiDart) แผ่นนำแสงสามมิติเพื่อฟื้นฟูผิว”


โดย ลูมิดาร์ท เป็นการนำแผ่นเข็มนำแสงสามมิติที่ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยนาโนเทค ที่มีขนาดเล็กมากในระดับไมโครเมตร ผสานกับเทคโนโลยีการบำบัดผิวด้วยการฉายแสง หรือ Phototherapy ซึ่งใช้แสงจากแอลอีดี (Light Emitting Diode: LED) ส่องผ่านเข้าไปใต้ผิว เพื่อบำบัดและฟื้นฟูสภาพผิวจากภายในสู่ภายนอก เทคโนโลยีนี้ใช้แสงแอลอีดีเป็นแหล่งกำเนิดแสง แสงแต่ละสีมีค่าความยาวคลื่นแสงที่ต่างกัน จึงมีคุณสมบัติให้การบำบัดที่แตกต่างกันออกไป เช่น แสงสีฟ้า (ความยาวคลื่น 470 นาโนเมตร) จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาสิว ส่วนแสงสีแดง (ความยาวคลื่น 640 นาโนเมตร) จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและลดเลือนริ้วรอย เป็นต้น


“การใช้แสงในการบำบัดนั้น จำเป็นต้องใช้พลังงานสูงมาก ทำให้แสงทำปฏิกิริยากับเซลล์ผิวได้ ดังนั้น เราจึงประยุกต์ใช้ร่วมกับแผ่นเข็มนำแสงสามมิติระดับไมโครเมตร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดโดยการนำพาแสงไปยังชั้นใต้ผิวหนังได้โดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด จึงใช้พลังงานหรือความเข้มแสงน้อย ซึ่งช่วยลดอันตรายจากการได้รับแสงความเข้มสูงเป็นเวลานาน ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อผู้ใช้งาน” ไพศาลกล่าว


ผลการทดสอบเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีการบำบัดผิวด้วยการฉายแสง หรือ Phototherapy แบบเดิม พบว่า เทคโนโลยีการบำบัดผิวด้วยแสงด้วยลูมิดาร์ทนี้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าถึง 4 เท่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดผิวด้วยการกระตุ้นกลไกให้ผิวฟื้นฟูสภาพได้ด้วยตนเอง ใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย และยังสามารถใช้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ


นอกจากนี้ นักวิจัยนาโนเทคชี้ว่า นวัตกรรมลูมิดาร์ทนี้ ยังสามารถผลิตได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการ มีความแม่นยำสูง และสามารถผลิตได้จำนวนมาก หากสถานการณ์ปกติ ยังสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ควบคู่กับการการฉายแสงบำบัดผิว เพื่อฟื้นฟูสภาพผิวเพื่อความงามตามร่างกาย ทำให้สามารถเข้าถึงเป้าหมายในกลุ่มของสถานเสริมความงาม นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจที่มีความสนใจในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าอีกด้วย


“เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางนวัตกรรมของเข็มไมโครนีดเดิล สำหรับนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นนี้สามารถต่อยอดไปใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้ร่วมกับการรักษาความผิดปกติหรือโรคต่างๆ ทางผิวหนังได้ เมื่อได้รับการควบคุมการผลิตภายใต้การแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ” ไพศาลกล่าว


ปัจจุบัน ลูมิดาร์ท (LumiDart) แผ่นนำแสงสามมิติเพื่อฟื้นฟูผิวนี้ กำลังดำเนินการจดสิทธิบัตร และพร้อมในการเจรจาเพื่อหาพันธมิตร นำเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริงต่อไป และจะนำมาจัดแสดงภายในงาน Health Tech Thailand 2021 มหกรรมนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพแห่งปี ภายใต้แนวคิด “The Sustainable Solutions of Health & Wellness” โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก กรุงเทพธุรกิจ


https://www.bangkokbiznews.com/tech/972726


 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้