• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page

Duangchai Maneechot
18 Feb 2021

ลดเสี่ยง “มะเร็ง” ด้วยวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ทั้งชายหญิง

ลดเสี่ยง “มะเร็ง” ด้วยวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ทั้งชายหญิง


ไวรัสเอชพีวี HPV (Human Papilloma Virus) ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีประมาณ 40 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ที่รู้จักกันดีคือ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ และ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก 


ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัส HPV ให้หายขาด การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรคร้าย ก่อนสายเกินแก้


ไวรัส HPV คืออะไร?


พญ.แสงเดือน จินดาวิจักษณ์ สูตินรีเวช รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า ไวรัสเอชพีวี HPV (Human Papilloma virus) เป็น DNA ไวรัส ที่ได้รับมาจากการสัมผัสโดยตรง จากการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmission Infection) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง จนถึงพัฒนาเป็นมะเร็ง ซึ่งใช้เวลากว่า 10 ปี และกลุ่มความเสี่ยงต่ำ สามารถเกิดโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ทั้งนี้ การเกิดมะเร็งขึ้นกับภูมิร่างกายของคนที่ได้รับเชื้อ HPV ด้วย เช่น ถ้าภูมิร่างกายต่ำอาจทำให้มีการพัฒนาเซลล์เปลี่ยนในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้เร็วขึ้น (น้อยกว่า 10 ปี) ได้


วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV


เราสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้ด้วย



  1. การตรวจดูเซลล์มะเร็งปากมดลูก PAP Test หรือ HPV Test เมื่อพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หากพบจะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ

  2. การฉีดวัคซีน แต่เดิมมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18) และวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18) แต่ปัจจุบันวัคซีน HPV ได้รับการพัฒนาเป็น วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV และป้องกันการเกิดมะเร็งได้ครอบคลุมมากขึ้น

  3. ลดพฤติกรรมความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HPV เช่น ระมัดระวังเรื่องมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายๆ คน


 

วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ทั้งชายหญิง


วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 9-valent Vaccine) สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี โดยอายุที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ อายุ และการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ซึ่งถ้าอยากป้องกันให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เช่น ในอเมริกาเริ่มฉีดที่อายุ 9 ปี ในอังกฤษเริ่มที่อายุ 11 ปี ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับความพร้อม แต่โดยมากควรฉีดก่อนอายุที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 


โดยวัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคในผู้หญิง อายุตั้งแต่ 9-45 ปี และป้องกันการเกิดรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) ของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และโรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น 


ในผู้ชายอายุตั้งแต่ 9-45 ปี ช่วยป้องกันการเกิดโรค และก่อนเกิดรอยโรคมะเร็ง (Precancerous lesion) เช่น โรคมะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ ของมะเร็งทวารหนัก และโรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น 


ฉีดวัคซีน HPV เมื่อไรดี?


เนื่องจากเชื้อ HPV ติดได้จากเพศสัมพันธ์ จึงควรฉีดตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จะทำให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลง โดยวัคซีน HPV ถ้าฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี จะฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน แต่ถ้าฉีดเข็มแรกหลังอายุ 15 ปีเป็นต้นไป จะฉีด 3 เข็ม ทุก 0, 2 และ 6 เดือน หรือทุก 0, 1 และ 6 เดือน การวัคซีน HPV สามารถฉีดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่มีข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน อย่างไรก็ตามแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมและความจำเป็นในการฉีดวัคซีนอีกครั้งหนึ่ง 


วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV


วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี ในผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นแต่เนิ่นๆ จะช่วยสามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งร้ายได้ในภายหลัง


ข้อมูล พญ.แสงเดือน จินดาวิจักษณ์ สูตินรีเวช รพ.กรุงเทพ


ภาพ : iStock


ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้