• NBTC E-Lib_2022
  • Mobile Application NBTC E-Library
  • PR-Journal
  • PR-Method
  • PR-Smart Digital
  • magazine
  • Facebook Page
แบบจำลองในการเลือกทำเลพัฒนาอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร
TU Library

การเลือกทำเลที่ตั้งในธุรกิจอะพาร์ตเมนต์มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเกณฑ์ต่าง ๆ ของทำเลให้มีความเหมาะสม เพื่อที่จะให้ธุรกิจอะพาร์ต-เมนต์ประสบผลสำเร็จ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัจจัยและเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลเพื่อพัฒนาโครงการ อะพาร์ตเมนต์ให้เช่าด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นแบบประยุกต์ (Modified Analytical Hierarchy Process : Modified AHP) ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิจัยนี้จะศึกษาเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลจากการทบทวนวรรณกรรมและนำเกณฑ์ที่ได้มาคัดกรองโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไป จำนวน 5 คน รวมถึงหาปัจจัยที่มีผลต่อเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกทำเล จากนั้นนำเกณฑ์และปัจจัยที่ผ่านการคัดกรองมาทำแบบสอบถามเพื่อหาค่าลำดับความสำคัญของแต่ละเกณฑ์โดยผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบโควต้า จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในเรื่องของพื้นที่ที่ตั้งของ อะพาร์ตเมนต์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเกณฑ์ในการเลือกทำเลมากที่สุดดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสร้างแบบจำลองในการเลือกทำเลพัฒนาอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมี 5 แบบจำลองตามเขตพื้นที่ที่ตั้งโครงการ โดยผู้วิจัยได้แบ่งทำเลออกเป็น 5 พื้นที่ ดังนี้ (1) พื้นที่กรุงเทพฯตอนบน ประกอบด้วย เขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน คลองสามวา และเขตหนองจอก (2) พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประกอบด้วย เขตบางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว ดุสิต พญาไท ราชเทวี ดินแดง ห้วย-ขวาง วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม และเขตคันนายาว (3) พื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออก ประกอบด้วย เขตสวนหลวง พระโขนง บางนา ประเวศ สะพานสูง มีนบุรี และเขตลาดกระบัง (4) พื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี ประกอบด้วย เขตบางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ คลองสาน ธนบุรี จอมทอง ราษฎร์-บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน หนองแขม บางแค ภาษีเจริญ ทวีวัฒนา และเขตตลิ่งชัน และ (5) พื้นที่กรุงเทพฯ ย่านศูนย์การค้าธุรกิจ (CBD) ประกอบด้วย เขตวัฒนา คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม สาทร บางรัก ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบ และพระนคร ผลจากการวิจัยข้อมูลทั้ง 5 พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความสำคัญเกณฑ์หลักด้านคมนาคมเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ เกณฑ์หลักด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เกณฑ์หลักด้านแหล่งงาน และเกณฑ์หลักด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตามลำดับ โดยมีค่าความสำคัญที่ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมากที่เหมือนกันสองอันดับแรก คือ ทำเลใกล้รถไฟฟ้า BTS/MRT/APL และทำเลใกล้ร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าชุมชน แสดงว่า กลุ่มผู้อาศัยที่เลือกที่พักประเภทอะพาร์ตเมนต์มักต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางตลอดจนความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันค่าความสำคัญที่ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญน้อยที่เหมือนกันสองอันดับสุดท้าย คือ ทำเลใกล้สนามบินและทำเลใกล้แหล่งศาสนา แสดงว่า เกณฑ์ทั้งสองตัวนี้ทางผู้เชี่ยวชาญไม่ค่อยให้ความสำคัญมาก ไม่ได้มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้พักอาศัยอะพาร์ตเมนต์ จึงเป็นเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญน้อยเหมือนกันทั้ง 5 พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกทำเลเบื้องต้นเพื่อพัฒนาโครงการอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานครได้

หมวดหมู่ : Thammasat University Theses
จำนวนหน้า : 20, 163 แผ่น
ความนิยม :
แชร์ข้อมูลไปยัง :

MARC Information

245 a : Title 
แบบจำลองในการเลือกทำเลพัฒนาอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร 
300 a : Total pages 
20, 163 แผ่น 
050 b : Publish Year 
2019 
260 b : Name of publisher 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
000 a : Book tag 
TU Library 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

สำนักงาน กสทช. มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับความสะดวกสบาย ได้รับการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึงเพื่อการสนับสนุนความปลอดภัย การวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของสำนักงาน กสทช. ให้ดียิ่งขึ้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือก กดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทราบว่าหากท่านไม่ยอมรับการใช้งานคุกกี้ การนำเสนอเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์จะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ โดยผู้เข้าชมสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้

นโยบายคุกกี้ ยอมรับ